วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาการแห่งพระไตรปิฎก



 
พัฒนาการแห่งพระไตรปิฎก
พัฒนาการของการรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎก
๑. ภาษาพระไตรปิฎก (ภาษามคธหรือบาลี)
๒. กำเนิดพัฒนาการและการถ่ายทอดพระไตรปิฎก
๓. โครงสร้างและสาระสังเขปของพระไตรปิฎก
คำว่า “พระไตรปิฎก” (บาลี _ติปิฏกํ หรือ เตปิฏกํ) มาจาก พระ (คำยกย่อง แปลว่าประเสริฐ) ไตร (สาม) ปิฎก (ปิฎก) รวมแล้วแปลว่า ปิฎกสามอันประเสริฐ
คำว่า “ปิฎก” (บาลี_ปิฏกํ) พระอรรถกถาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ ๒ ประการ คือ
๑. ปิฎก หมายถึง คัมภีร์หรือตำรา ดังประโยคบาลีว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน
อย่าเชื่อถือโดยการอ้างตำรา
๒. ปิฎก  หมายถึง ภาชนะ (เช่น ตะกร้า) ดังประโยคว่า
อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย กุทฺทาลปิฏกมาทาย 
ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งถือจอบและตระกร้าเดินมา
ปิฎก ๓
๑. พระวินัยปิฎก  ว่าด้วยวินัย หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
๒. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรหรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง คำบรรยายธรรมบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกสำคัญบางรูป

๓. พระอภิธรรมปิฎก  ว่าด้วยหลักธรรมต่างๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยาและอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา
การจัดรูปแบบพุทธวจนะในสมัยพุทธกาล
สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น  หลักธรรมคำสอนต่างๆ ของพระองค์ยังมิได้จัดเป็นหมวดหมู่หรือเป็นระเบียบแบบแผนแต่อย่างใด ยังไม่มีพระไตรปิฎกบันทึก
คำสอนดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน พุทธวจนะหรือคำสอนของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกกันสมัยนั้น ๒ อย่าง คือ
๑. เรียก พรหฺมจริย (พรหมจรรย์) ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสเมื่อครั้งทรงส่งพระอรหันตสาวก ๖๐ รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกว่า
จรถ ภิ กฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชน  สุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย   สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌ   กลฺยาณํ ปริโยสาณกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงแสดงธรรมอันงามใน     เบ้ื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
๒. เรียกว่า ธมฺมวินย (ธรรมวินัย) ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
อานนท์ ธรรม และ วินัย ใด ที่เราตถาคตแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรม และ วินัย นั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว 
แบ่งเป็นนวังคสัตถุสาสน์
มีหลักฐานบางประการบ่งชี้ว่า ได้มีการแบ่งพุทธพจน์เป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งบ้างแล้ว เช่น แบ่งเป็น สัตถุสาสน์ ๙ ประการ และ วรรค ดังนี้ คือ
๑. สุตตะ คำสอนประเภทร้อยแก้วล้วน อรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่      อุภโตวิภังค์ (ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย) ขันธกะ บริวาร นิเทศ และ พระสูตรในสุตตันตนิบาต รวมทั้งสูตรอื่นๆ›ที่ไม่มีชื่อกำกับว่า “สูตร” ด้วย
๒. เคยยะ คำสอนประเภทร้อยแก้วผสมร้อยกรอง หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมดโดยเฉพาะสคาถวรรคสังยุตตนิกาย
๓. เวยยากรณะ คำสอนประเภทที่เป็นอรรถาธิบายโดยละเอียดเป็นร้อยแก้วล้วนๆ เช่น อภิธรรมปิฎก พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นที่ไม่นับเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ
๔. คาถา คำสอนประเภทร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาต  ที่ไม่มีชื่อกำกับว่า “สูตร”
๕. อุทาน คำสอนประเภทที่เปล่งขึ้นจากแรงบันดาลใจของพระพุทธเจ้าและพระสาวกส่วนมากจะเป็นบทร้อยกรอง
๖. อิติวุตตกะ คำสอนประเภทอ้างอิง ที่ยกข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มาอ้างเป็นตอนๆ ได้แก่ พระสูตรสั้นๆ ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา”
๗. ชาตกะ (ชาดก) คำสอนประเภทนิทานชาดก หรือเรื่องราวในชาติปางก่อนของพระพุทธเจ้า ขณะเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่
๘. อัพภูตธรรม คำสอนประเภทเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย เช่น พระพุทธองค์สมัยอยู่ในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา นั่งสมาธิผินพระพักตร์›ออกมาทางด้านหน้าพระอุทร ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินครรภ์เหมือนทารกธรรมดาทั่วไป
๙. เวทัลละ คำสอนประเภทคำถาม _ คำตอบ เวทัลละ แปลว่า ได้ความรู้ ความปลื้มใจ หมายถึงการจัดรูปแบบหรือการแบ่งหมวดหมู่ที่เก่าแก่มาก เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ
แบ่งเป็นวรรค
นอกจากแบ่งเป็นนวังคสัตถุสาสน์ แล้ว ยังได้รวบรวมเป็น  วรรค ส่วนจะมีกี่วรรคนั้นสืบไม่ได้ มีหลักฐานแห่งเดียวในพระวินัยปิฎก  พระโสณกุฏิกัณณะ สัทธิวิหาริกของพระมหากัจจายนะ พักในที่เดียวกันกับพระพุทธเจ้า ได้สวดสรภัญญะ  พระพุทธพจน์ใน อัฏฐกวรรค ให้พระพุทธองค์ฟัง
อัฏฐกวรรค อยู่ใน ขุททกนิกาย สุตตนิบาต สูตรสั้นๆ ๑๖ สูตร
แบ่งเป็น หมวด ๑ - หมวด ๑๐
พระสารีบุตรเถระ เป็นผู้จัดแล้วนำเสนอให้สงฆ์์รับทราบซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงสดับอยู่ด้วย
เหตุที่จัดเป็นหมวดหมู่ ปรารภเรื่องสาวกของนิครนถ์ แตกแยกกันทางความคิด
ธรรมทั้ง ๑๐ หมวด นี้อยู่ใน          สังคีติสูตร  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย 
การแบ่งพระพุทธพจน์เป็นพระไตรปิฎก
หลังพุทธปรินิพพาน พระเถระผู้ใหญ่นำโดยพระมหากัสสปเถระ ได้รวบรวมพระธรรมวินัย เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นทางการ เรียกว่า  การสังคายนา 
การทำสังคายนา
๑. การทำสังคายนาครั้งที่ ๑ 
หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน ปรารภเหตุที่หลวงตาสุภัททะ จ้วงจาบพระธรรมวินัย  มีพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำอยู่ ๗ เดือน ที่ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต 
เหตุการณ์สำคัญ คือ
พระปุราณ พร้อมด้วยลูกศิษย์ ไม่ยอมรับ เป็นสาเหตุให้คณะเริ่มแตกกันครั้งแรก แต่ยังไม่ถึงกับแยกเป็นนิกาย
คณะสงฆ์ ปรับอาบัติพระอานนท์ ๘ ข้อ
ฝ่ายเถรวาทไม่ถอนสิกขาบทเล็กน้อยที่ทรงอนุญาตไว้เพราะไม่รู้ว่าสิกขาบทใด 
๒. การทำสังคายนาครั้งที่ ๒
หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี ปรารภ พวกภิกษุวัชชี  ชาวเมืองเวสาลี ประพฤติย่อหย่อน บัญญัติข้อที่พระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติไว้ ๑๐ ประการ เช่น เก็บเกลือไว้เพื่อนำมาปรุงอาหารฉันได้ตลอดไป เมื่อตะวันเลยเที่ยงไปสององคุลี ยังฉันอาหารได้ เป็นต้น
ทำที่ วาลิการาม เมืองเวสาลี มีพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป    ทำอยู่ ๘ เดือน มีพระเถระผู้ใหญ่ ๘ รูป เป็นผู้นำ
พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ พระเรวตะ พระสัมภูตะสาณวาสี พระยสกากัณฑบุตร และพระสุมนะ
พระเจ้ากาฬาโศก เป็นผู้อุปถัมภ์
เหตุการณ์สำคัญในครั้งนี้ คือทำให้สงฆ์แตกออกเป็น สองนิกาย อย่างชัดเจน คือ เถรวาทเดิม และนิกายใหม่ ที่แยกออกมา  มหายาน
คณะสงฆ์ฝ่ายหลังทำสังคายนาใหม่ มีพระร่วมมากกว่า ฝ่ายเถรวาท (๑,๐๐๐ รูป) จึงเรียกพวกตัวเองว่า มหายาน (ยานใหญ่) เรียกพวกเดิมว่า หินยาน (ยานน้อย)
๓. สังคายนาครั้งที่ ๓ 
ทำเมื่อพุทธปรินิพพาน ๒๓๕​ ปี (บางแห่งว่า ๒๓๔ ปี) ปรารภเดียรถีย์ปลอมบวช ทำที่ อโสการาม เมืองปาฏลีบุตร มีพระโมคคัลลีบุตรเถระ เป็นประธาน
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์มีพระอรหันต์ร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำอยู่ ๙ เดือน
พระโมคคัลลีบุตร แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ  จัดไว้ในพระอภิธรรมปิฎก
๔. การทำสังคายนาครั้งที่ ๔ 
ทำหลังพุทธปรินิพพาน ๒๓๘ ​ปี พระมหินทเถระ เป็นประธาน พระเจ้าเทวา นัมปิยติสสะ เป็นผู้อุปถัมภ์ ทำที่ ศรีลังกา
๕. การทำสังคายนาครั้งที่ ๕ 
หลังพุทธปรินิพาพาน ๔๕๐ ทำที่อาโลกเลณสถานมตเลชนบท ชาวไทยเรียกมลัยชนบท ที่ศรีลังการ›พระรักขิตมหาเถระ เป็นประธาน พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เป็นผู้อุปถัมถ์
เหตุการณ์สำคัญ
จารึกพระพุทธพจน์เป็นลายลักษณ์อักษร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น